5 ชนิด โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วกว่าปกติโดยการกระตุ้นของสารเคมีจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ชนิดเซลล์ที (T-cell) ทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นผื่นหนาขนาดใหญ่ มีลักษณะสีเงินและแดงที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกาย โรคนี้สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัยหากจำแนกตามประเภทของโรคพบว่ามีอยู่หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยมีดังนี้โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาหรือปื้นหนา (Plaque Psoriasis/Psoriasis Vulgaris) เป็นชนิดที่พบมากที่สุดประมาณ 80% บริเวณผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่นแดงหนาคลุมด้วยสีเงิน ส่วนใหญ่มักเกิดกับผิวบริเวณข้อศอก หัวเข่า และหนังศีรษะโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate Psoriasis) เป็นชนิดที่มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยพบได้ประมาณ 10% ของโรคสะเก็ดเงินที่เกิดกับผู้ป่วย ลักษณะผิวหนังจะเป็นจุดสีชมพูขนาดเล็ก และอาจกลายเป็นผื่นหนาสีแดงได้เหมือนกับชนิดผื่นหนา สามารถเกิดได้บ่อยที่แขน ขา หรือตามลำตัวโรคสะเก็ดเงินชนิดที่มีตุ่มหนอง (Pustular Psoriasis) เป็นชนิดที่เกิดได้มากในวัยผู้ใหญ่ บริเวณผิวหนังมีตุ่มหนองสีขาวกระจายเป็นวงกว้างและเกิดการอักเสบจนแดง มักพบมากตามแขนขา อาจเกิดการแพร่กระจายไปทั่วลำตัวได้ บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ขึ้น รู้สึกคันตามผิวหนัง ไม่อยากอาหารโรคสะเก็ดเงินชนิดเกิดตามข้อพับ (Inverse Psoriasis/Intertriginous Psoriasis) ผิวหนังเป็นผื่นแดง มีความเรียบและเงา มักเกิดขึ้นตามข้อพับและซอกต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น หน้าอก รักแร้ ขาหนีบ หรือรอบอวัยวะเพศโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic Psoriasis) […]

ภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจาง หรือภาวะซีด เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น ภายในเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยโปรตีนชื่อ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบหลัก มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ในร่างกาย ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่มักถูกสร้างขึ้นในไขกระดูกตามปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งหมดจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์เม็ดเลือดแดงต้นกำเนิดก่อนเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนและพัฒนาจนเป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ในเพียงไม่กี่วัน จากนั้นจึงถูกปล่อยเข้าสู่หลอดเลือด ซึ่งเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในหลอดเลือดนี้จะมีอายุประมาณ 120 วัน ก่อนจะถูกกำจัดออกไปโดยม้าม ตับ และไขกระดูก จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง เพื่อทดแทนของเก่าที่ถูกกำจัดไป เมื่อเกิดความผิดปกติในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง หรือความปกติเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดง จะส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติขึ้น ภาวะโลหิตจาง ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการแตกต่างกันไปออกไปตามสาเหตุ ตั้งแต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงรุนแรง หรือในบางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ จนกว่าภาวะโลหิตจางรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาการผิดปกติเป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจที่หนักขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากเลือดมากขึ้น โดยอาการที่พบส่วนมาก ได้แก่ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน มีอาการตัวซีด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง […]

อาการเหนื่อยง่าย

อาการเหนื่อยง่าย คือ ภาวะที่ร่างกายมีพลังงานน้อยกว่าปกติจนส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย โดยอาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาทางสุขสภาพจิต การรับประทานยาบางชนิด หรือภาวะความเจ็บป่วย ซึ่งแม้อาการเหนื่อยจะเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และสามารถกลับมารู้สึกสดชื่นได้อีกครั้งหลังจากนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ แต่อาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นติดต่อกันนานหลายสัปดาห์นั้นอาจเป็นสัญญาณปัญหาสุขภาพได้ อาการเหนื่อยง่าย อาการเหนื่อยที่ไม่ดีขึ้นแม้จะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรืออาการเหนื่อยต่อเนื่องนาน 3-4 สัปดาห์ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน ทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิห้องปกติและไม่มีไข้ หายใจลำบาก ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง มีเมือกใสในโพรงจมูกหรือปาก กระหายน้ำ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต

ธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร

ธาตุเหล็ก คือ สารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการผลิตเฮโมโกลบิน ไมโอโกลบิน และเอนไซม์บางชนิด รวมทั้งยังเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญวิตามินบี โดยเฉพาะวิตามินซี โคบอลต์ แมงกานีส และทองแดง ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญต่อการดูดซึมของธาตุเหล็ก แต่ทั้งนี้วิตามินอีและสังกะสีที่มีอยู่ในร่างกายในปริมาณมากนั้นจะคอยขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กเสียเอง ส่วนธาตุเหล็กที่เรารับประทานเข้าไปก็มักจะเกิดการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เพียงประมาณ 8% เท่านั้น ธาตุเหล็ก นับเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายของคนเราได้เป็นอย่างมาก และยังเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องการได้รับไม่แพ้ไปกว่าสารอาหารชนิดอื่นๆ เนื่องจากธาตุเหล็กมีหน้าที่ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ยังช่วยบำรุงและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อาทิเช่น ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย ช่วยเสริมความต้านทานต่อการเจ็บป่วย ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ช่วยทำให้สีผิวพรรณดูเรียบเนียน