5 ชนิด โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วกว่าปกติโดยการกระตุ้นของสารเคมีจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ชนิดเซลล์ที (T-cell) ทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นผื่นหนาขนาดใหญ่ มีลักษณะสีเงินและแดงที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกาย โรคนี้สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัยหากจำแนกตามประเภทของโรคพบว่ามีอยู่หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยมีดังนี้โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาหรือปื้นหนา (Plaque Psoriasis/Psoriasis Vulgaris) เป็นชนิดที่พบมากที่สุดประมาณ 80% บริเวณผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่นแดงหนาคลุมด้วยสีเงิน ส่วนใหญ่มักเกิดกับผิวบริเวณข้อศอก หัวเข่า และหนังศีรษะโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate Psoriasis) เป็นชนิดที่มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยพบได้ประมาณ 10% ของโรคสะเก็ดเงินที่เกิดกับผู้ป่วย ลักษณะผิวหนังจะเป็นจุดสีชมพูขนาดเล็ก และอาจกลายเป็นผื่นหนาสีแดงได้เหมือนกับชนิดผื่นหนา สามารถเกิดได้บ่อยที่แขน ขา หรือตามลำตัวโรคสะเก็ดเงินชนิดที่มีตุ่มหนอง (Pustular Psoriasis) เป็นชนิดที่เกิดได้มากในวัยผู้ใหญ่ บริเวณผิวหนังมีตุ่มหนองสีขาวกระจายเป็นวงกว้างและเกิดการอักเสบจนแดง มักพบมากตามแขนขา อาจเกิดการแพร่กระจายไปทั่วลำตัวได้ บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ขึ้น รู้สึกคันตามผิวหนัง ไม่อยากอาหารโรคสะเก็ดเงินชนิดเกิดตามข้อพับ (Inverse Psoriasis/Intertriginous Psoriasis) ผิวหนังเป็นผื่นแดง มีความเรียบและเงา มักเกิดขึ้นตามข้อพับและซอกต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น หน้าอก รักแร้ ขาหนีบ หรือรอบอวัยวะเพศโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic Psoriasis) […]

โรคสะเก็ดเงินป้องกันได้

โรคสะเก็ดเงินยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด การป้องกันโรคสะเก็ดเงินจึงยังไม่สามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค คือ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นของการเกิดโรคตามคำแนะนำต่อไปนี้ พยายามไม่เครียด ความเครียดในชีวิตประจำวันอาจส่งผลเสียแก่ร่างกาย เพราะเมื่อเกิดความเครียดขึ้นจะทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาตอบสนองจากร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจหาวิธีการผ่อนคลายที่สร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย ปรึกษากับคนรอบข้างเมื่อเกิดปัญหา นั่งสมาธิทำจิตใจให้สงบ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาบางชนิด ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและต้านการอักเสบอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้ เช่น ยาลิเทียม ยาต่อต้านมาลาเรีย ยาลดความดันโลหิต ยาในกลุ่มลดการอักเสบ ผู้ที่ใช้ยาในกลุ่มเหล่านี้ควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนและไม่ควรหยุดใช้ยาโดยไม่ได้แจ้งแพทย์ ดูแลผิวหนังไม่ให้บาดเจ็บ ผิวหนังที่ได้รับการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้พัฒนาโรคขึ้นได้ โดยอาจจะมีการป้องกันผิวหนังขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือทำกิจกรรมอย่างระมัดระวัง เช่น ทาครีมกันแดดก่อนออกแดด หลีกเลี่ยงการโดนแมลงกัดด้วยการฉีดสเปรย์ป้องกันแมลงระมัดระวังการเล่นกีฬากลางแจ้งที่อาจเกิดบาดแผลบริเวณผิวหนัง และเมื่อเกิดความผิดปกติบริเวณผิวหนังควรมีการพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี ดูแลร่างกายไม่ให้ติดเชื้อ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อชนิดต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบบริเวณที่ได้รับเชื้อ เนื่องจากเป็นการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานโรคต่อสิ่งแปลกปลอม สิ่งสำคัญจึงควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามไปอีก รวมไปถึงการปฏิบัติตนตามหลักความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ ไม่รับประทานหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่ป่วย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละวัน เน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรระวังอาหารบางประเภทที่อาจเป็นสารกระตุ้นให้เกิดการอักเสบหรือแพ้มากขึ้นในบางราย เช่น เนื้อสัตว์สีแดง ผลิตภัณฑ์จากนม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป หรืออื่น ๆ ทั้งนี้การเลือกรับประทานอาหารยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคได้

เลือดจระเข้กับโรคสะเก็ดเงิน

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เสริมสร้างระบบเลือดให้ดีขึ้น ช่วยทำให้แผลแห้งไวขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่จะสามารถป้องกันโรคสะเก็ดเงินได้อย่างชัดเจน แต่การเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินก็ถือว่าเป็นวิธีป้องกันรูปแบบหนึ่ง เพราะเมื่อเข้าใจที่มาของการเกิดโรค ย่อมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสะเก็ดเงินได้ดีพอสมควร ทำให้เราหันกลับมาดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายให้มากขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว เพราะเมื่อภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรง โอกาสในการติดเชื้อโรคจนนำมาซึ่งโรคสะเก็ดเงินก็ย่อมน้อยลงไปด้วยนั่นเอง