เลือดจระเข้ส่งผลดีต่อร่างกาย

เหตุผลที่ทำให้เลือดจระเข้ส่งผลดีต่อผู้ป่วยในกลุ่มโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเลือด เป็นเพราะว่าในเลือดจระเข้มีสารอาหารที่สำคัญคือ กรดอะมิโน ที่มีมากกว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปและยังมีโปรตีนนำพาต่างๆ ให้ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อย่างผู้ป่วยโรคมะเร็ง แม้จะมีมะเร็งหลายชนิดหลายระยะ แต่การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดเบื้องต้นคือ การฉายแสงหรือทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจมีผลค้างเคียงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น ผมร่วง หงุดหงิด ท้องเสีย เป็นต้น มีภาวะเม็ดเลือดน้อย เกล็ดเลือดต่ำเทียบเท่าได้กับโลหิตจาง สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สารอาหารที่มีในเลือดจระเข้เป็นสารอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ ไม่ผ่านขั้นตอนการสกัดหรือเติมแต่งสารเคมีสังเคราะห์ใดๆ จึงเหมือนการรับประทานอาหารของคนเราที่ไปช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดให้ดีขึ้น เลือดจระเข้เป็นเพียงตัวช่วยร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเท่านั้น หรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง สารอาหารในเลือดจระเข้มีส่วนคล้ายกับสารอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายของคนเรา อาจช่วยกระตุ้นให้มีการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เซลล์มากขึ้น ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการติดเชื้อหรือแม้แต่โรคเอดส์ เลือดจระเข้มีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ส่วนในโรคโลหิตจาง ธาตุเหล็ก แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะทำให้โรคหายขาด เลือดจระเข้จะเป็นเพียงตัวช่วยในการสร้างองค์ประกอบของเลือดและภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเราเท่านั้น เพราะมีปริมาณสารอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้จริง ส่วนความเข้ากันได้ของเลือดจระเข้กับเลือดของคน ก็ไม่ต่างจากการที่เรารับประทานอาหารเข้าไป เลือดจระเข้ก็จะต้องผ่านระบบการย่อยการดูดซึม การนำไปใช้เช่นกัน ต่างกันแค่รูปแบบที่ทานเข้าไปเท่านั้น ถึงเลือดจระเข้จะให้สารอาหารได้ในปริมาณมากหรือบางครั้งเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็สามารถเสื่อมสลายหรือถูกขับออกได้โดยวิธีธรรมชาติของร่างกายเราอยู่แล้ว เพราะเป็นสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติไม่ใช่สารอาหารที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้น

ส่วนประกอบหลัก ในผงเลือดจระเข้แห้ง

ในเลือดจระเข้จะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายอย่าง เช่น โปรตีน แคลเซียม และวิตามิน ต่างๆ ทาง ดร.วินน์ จึงได้คิดค้นงานวิจัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลือดจระเข้ และศึกษาสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคต่างๆ ซึ่งผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จำหน่ายให้ผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสารอาหารปริมาณหน่วยโปรตีน83.1% เกลือแร่และแร่ธาตุต่าง Mineralเหล็ก164มิลลิกรัม/100กรัมแคลเซียม90มิลลิกรัม/100กรัมโซเดียม22.5มิลลิกรัม/100กรัมฟอสฟอรัส1,458มิลลิกรัม/100กรัมแมกนีเซียม574มิลลิกรัม/100กรัมวิตามิน Vitaminวิตามิน เอ10.61ไมโครกรัม/100กรัมวิตามิน บี10.17มิลลิกรัม/100กรัมวิตามิน บี20.23มิลลิกรัม/100กรัมวิตามิน บี60.22มิลลิกรัม/100กรัมวิตามิน บี120.20ไมโครกรัม/100กรัม

วิจัยเลือดจระเข้เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2553 ได้ตีพิมพ์บทความงานวิจัยเรื่อง “การตรวจหาไอจีเอฟ-วัน ในฮีโมไลเสทจระเข้ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน”บทความงานวิจัยเลือดจระเข้เพื่อผู้ป่วยเบาหวานไอจีเอฟ-วัน (IGF-1) เป็นสารที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลคล้ายอินซูลิน พบในน้ำเลือดและของเหลวต่างๆ ในร่างกายปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์เลือดจระเข้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลือดจระเข้แห้งแคปซูล เพื่อทดสอบสมมุติฐานว่าในส่วนของน้ำเลือดจระเข้น่าจะมี IGF-1 หรือสารที่คล้ายกัน จึงได้ตรวจหา IGF-1 ในน้ำเลือดของจระเข้พันธุ์ไทยที่ได้จากการเพาะเลี้ยง อายุ 2-5 ปี พบว่าปริมาณฮีโมไลเสท IGF-1 ในเพศผู้ (n=13) เท่ากับ 64.51±5.42 ng/ml และเพศเมีย (n=10) เท่ากับ 70.92±4.18 ng/ml ในฮีโมไลเสทสดและฮีโมไลเสทแห้งเท่ากับ 67.28±4.79 ng/ml และ 68.24±5.13 ng/ml ตามลำดับ ค่าดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แสดงให้เห็นว่าเพศ และกระบวนการทำแห้งแบบเยือกแข็ง ไม่มีผลต่อปริมาณ IGF-1 ในฮีโมไลเสทจระเข้ การศึกษานี้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเลือดจระเข้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพบทความงานวิจัยเลือดจระเข้เพื่อผู้ป่วยเบาหวานโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่ได้จากการรับประทานอาหารไปใช้ให้เกิดพลังงานได้อย่างเต็มที่ สาเหตุจากความผิดปกติในการทำงานของฮอร์โมน […]

โปรตีนในเลือดจระเข้

โปรตีนในเลือดจระเข้ อาจจะเป็นยาปฏิชีวนะตัวใหม่ในการต่อสู้กับแผลเท้าเปื่อย (จากโรคเบาหวาน) แผลไหม้ หรือแผลติดเชื้อดื้อยาอื่นๆ นักชีวเคมีในรัฐหลุยส์เซียนา ได้รายงานการค้นพบในครั้งนี้ในการประชุมครั้งที่ 235 ของ American Chemical Society ว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการวิเคราะห์เลือดของจระเข้ในรายละเอียดเป็นครั้งแรก และได้พบโปรตีนสำคัญๆที่มีฤทธิ์หยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด อาทิ แผลติดเชื้อจากยีสต์ Candida albicans ซึ่งพบในผู้ป่วยเอดส์หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง Mark Merchant จาก McNeese State University ผู้ร่วมศึกษากล่าวว่า พวกเขาตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ที่พบศักยภาพในการต่อต้านทั้งเชื้อราและแบคทีเรียในเลือดของจระเข้ที่พวกเขาค้นพบ และมันมีความเป็นไปได้ว่า วันหนึ่งเราคงสามารถใช้ยาปฏิชีวนะที่ได้จากเลือดจระเข้ได้ ในการศึกษาก่อนหน้านี้ Mark Merchant พบว่า จระเข้มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงมากและแตกต่างไปจากคนเรา โดยมันสามารถต่อต้านเชื้อจุลชีพ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา ไวรัส หรือแบคทีเรีย โดยที่มันไม่ต้องรับเอาเชื้อเข้าไปต่อสู้กับภูมิคุ้มกันของร่างกายในระดับเซลล์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การที่มันทำอย่างนั้นได้เป็นเรื่องของการปรับตัวและวิวัฒนาการเพื่อให้มันรักษาแผลได้เร็วขึ้น เนื่องจากจระเข้มักจะบาดเจ็บอยู่เสมอเพราะการต่อสู้แย่งเขตแดน ร่วมกับ Kermit Murray และ Lancia Darville จาก Louisiana State University เพื่อนร่วมงาน […]

การรักษาและภาวะแทรกซ้อนของโลหิตจาง

การรักษาภาวะโลหิตจาง ภาวะโลหิตจางมีลักษณะอาการไม่เฉพาะเจาะจงที่บอกได้ชัดเจน จึงจำเป็นต้องทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด การรักษาภาวะโลหิตจางยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของโลหิตจาง สาเหตุการเกิด ระดับความรุนแรง ซึ่งเป้าหมายของการรักษา คือ การเพิ่มความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนในร่างกายได้มากขึ้น โดยการรักษาจะประกอบไปด้วย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม เนื่องจากภาวะโลหิตจางบางประเภทเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือภาวะบางอย่างจากโรค ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 12 กรดโฟลิก รวมถึงวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไข่ นม เป็นต้น รับประทานยาหรือฮอร์โมน ในบางรายแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางรับประทานยา ฮอร์โมน หรือวิธีทางแพทย์อื่นๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้มากขึ้นหรือรักษาภาวะโลหิตจางจากบางสาเหตุ เช่น รับประทานยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการติดเชื้อ การให้ฮอร์โมนบางประเภท เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในผู้ที่ประจำเดือนมามากผิดปกติ การฉีดฮอร์โมนอิริโธรโพอิติน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก การรักษาด้วยวิธีคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) เพื่อขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรง แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือด การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ปกติไปแทนเซลล์ที่มีความผิดปกติ เพื่อช่วยให้การสร้างเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากขึ้น หรือ การผ่าตัด เพื่อช่วยรักษาการเสียเลือดมากในอวัยวะนั้นๆ จากโรคเรื้อรังบางชนิด […]

นักวิจัยไทย ทำได้ “อาหารเสริมเลือดจระเข้”

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาเลือดจระเข้ เอามาพัฒนาเป็นอาหารเสริมบำรุงสุขภาพ เพิ่มมูลค่า ที่ผ่านมาใช้ประโยชน์แค่เนื้อกับหนัง รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้นำผลจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของเลือดจระเข้ ซึ่งเป็นผลงานของ รศ.ดร.วิน เชยชมศรี และ รศ.ดร.จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ อาจารย์ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มาขยายผลในเชิงพาณิชย์ ให้ บริษัท ซีเอสจี โปรดักส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ควบคุมโดย รศ.ดร.วิน เชยชมศรี ในการผลิตแคปซูลเลือดจระเข้แห้ง เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมบำรุง สุขภาพ ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้ถือเป็นการบูรณาการระหว่างงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่สามารถนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาใช้ในเชิงพาณิชย์ จนสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ รศ.ดร.วิน เชยชมศรี กล่าวว่า หลังจากได้เริ่มงานวิจัยเรื่องเลือดของจระเข้มาตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเลือดจระเข้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากมีองค์ประกอบของโปรตีนและเกลือแร่หลายชนิด ทั้งแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม วิตามิน เอ บี1 บี2 ที่ผ่านมาเราใช้ประโยชน์เพียงหนังกับเนื้อเท่านั้น ส่วนเลือดจะทิ้งไป งานวิจัยจึงเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สำหรับการนำเลือดจระเข้มาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่การเจาะเลือดต้องให้มีความสะอาดมากที่สุดโดยใช้อุปกรณ์เจาะเลือดที่ได้คิดค้นขึ้นเอง จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ […]

5 ชนิด โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วกว่าปกติโดยการกระตุ้นของสารเคมีจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ชนิดเซลล์ที (T-cell) ทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นผื่นหนาขนาดใหญ่ มีลักษณะสีเงินและแดงที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกาย โรคนี้สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัยหากจำแนกตามประเภทของโรคพบว่ามีอยู่หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยมีดังนี้โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาหรือปื้นหนา (Plaque Psoriasis/Psoriasis Vulgaris) เป็นชนิดที่พบมากที่สุดประมาณ 80% บริเวณผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่นแดงหนาคลุมด้วยสีเงิน ส่วนใหญ่มักเกิดกับผิวบริเวณข้อศอก หัวเข่า และหนังศีรษะโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate Psoriasis) เป็นชนิดที่มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยพบได้ประมาณ 10% ของโรคสะเก็ดเงินที่เกิดกับผู้ป่วย ลักษณะผิวหนังจะเป็นจุดสีชมพูขนาดเล็ก และอาจกลายเป็นผื่นหนาสีแดงได้เหมือนกับชนิดผื่นหนา สามารถเกิดได้บ่อยที่แขน ขา หรือตามลำตัวโรคสะเก็ดเงินชนิดที่มีตุ่มหนอง (Pustular Psoriasis) เป็นชนิดที่เกิดได้มากในวัยผู้ใหญ่ บริเวณผิวหนังมีตุ่มหนองสีขาวกระจายเป็นวงกว้างและเกิดการอักเสบจนแดง มักพบมากตามแขนขา อาจเกิดการแพร่กระจายไปทั่วลำตัวได้ บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ขึ้น รู้สึกคันตามผิวหนัง ไม่อยากอาหารโรคสะเก็ดเงินชนิดเกิดตามข้อพับ (Inverse Psoriasis/Intertriginous Psoriasis) ผิวหนังเป็นผื่นแดง มีความเรียบและเงา มักเกิดขึ้นตามข้อพับและซอกต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น หน้าอก รักแร้ ขาหนีบ หรือรอบอวัยวะเพศโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic Psoriasis) […]

ภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจาง หรือภาวะซีด เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น ภายในเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยโปรตีนชื่อ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบหลัก มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์ในร่างกาย ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่มักถูกสร้างขึ้นในไขกระดูกตามปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งหมดจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์เม็ดเลือดแดงต้นกำเนิดก่อนเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนและพัฒนาจนเป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ในเพียงไม่กี่วัน จากนั้นจึงถูกปล่อยเข้าสู่หลอดเลือด ซึ่งเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในหลอดเลือดนี้จะมีอายุประมาณ 120 วัน ก่อนจะถูกกำจัดออกไปโดยม้าม ตับ และไขกระดูก จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง เพื่อทดแทนของเก่าที่ถูกกำจัดไป เมื่อเกิดความผิดปกติในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง หรือความปกติเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดง จะส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติขึ้น ภาวะโลหิตจาง ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการแตกต่างกันไปออกไปตามสาเหตุ ตั้งแต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงรุนแรง หรือในบางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ จนกว่าภาวะโลหิตจางรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาการผิดปกติเป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจที่หนักขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากเลือดมากขึ้น โดยอาการที่พบส่วนมาก ได้แก่ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน มีอาการตัวซีด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง […]

อาการเหนื่อยง่าย

อาการเหนื่อยง่าย คือ ภาวะที่ร่างกายมีพลังงานน้อยกว่าปกติจนส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย โดยอาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ปัญหาทางสุขสภาพจิต การรับประทานยาบางชนิด หรือภาวะความเจ็บป่วย ซึ่งแม้อาการเหนื่อยจะเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และสามารถกลับมารู้สึกสดชื่นได้อีกครั้งหลังจากนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ แต่อาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นติดต่อกันนานหลายสัปดาห์นั้นอาจเป็นสัญญาณปัญหาสุขภาพได้ อาการเหนื่อยง่าย อาการเหนื่อยที่ไม่ดีขึ้นแม้จะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรืออาการเหนื่อยต่อเนื่องนาน 3-4 สัปดาห์ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน ทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิห้องปกติและไม่มีไข้ หายใจลำบาก ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง มีเมือกใสในโพรงจมูกหรือปาก กระหายน้ำ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต

โรคสะเก็ดเงินป้องกันได้

โรคสะเก็ดเงินยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด การป้องกันโรคสะเก็ดเงินจึงยังไม่สามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค คือ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นของการเกิดโรคตามคำแนะนำต่อไปนี้ พยายามไม่เครียด ความเครียดในชีวิตประจำวันอาจส่งผลเสียแก่ร่างกาย เพราะเมื่อเกิดความเครียดขึ้นจะทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาตอบสนองจากร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจหาวิธีการผ่อนคลายที่สร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย ปรึกษากับคนรอบข้างเมื่อเกิดปัญหา นั่งสมาธิทำจิตใจให้สงบ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาบางชนิด ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและต้านการอักเสบอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้ เช่น ยาลิเทียม ยาต่อต้านมาลาเรีย ยาลดความดันโลหิต ยาในกลุ่มลดการอักเสบ ผู้ที่ใช้ยาในกลุ่มเหล่านี้ควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนและไม่ควรหยุดใช้ยาโดยไม่ได้แจ้งแพทย์ ดูแลผิวหนังไม่ให้บาดเจ็บ ผิวหนังที่ได้รับการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้พัฒนาโรคขึ้นได้ โดยอาจจะมีการป้องกันผิวหนังขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือทำกิจกรรมอย่างระมัดระวัง เช่น ทาครีมกันแดดก่อนออกแดด หลีกเลี่ยงการโดนแมลงกัดด้วยการฉีดสเปรย์ป้องกันแมลงระมัดระวังการเล่นกีฬากลางแจ้งที่อาจเกิดบาดแผลบริเวณผิวหนัง และเมื่อเกิดความผิดปกติบริเวณผิวหนังควรมีการพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี ดูแลร่างกายไม่ให้ติดเชื้อ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อชนิดต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบบริเวณที่ได้รับเชื้อ เนื่องจากเป็นการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานโรคต่อสิ่งแปลกปลอม สิ่งสำคัญจึงควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามไปอีก รวมไปถึงการปฏิบัติตนตามหลักความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ ไม่รับประทานหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่ป่วย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละวัน เน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรระวังอาหารบางประเภทที่อาจเป็นสารกระตุ้นให้เกิดการอักเสบหรือแพ้มากขึ้นในบางราย เช่น เนื้อสัตว์สีแดง ผลิตภัณฑ์จากนม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป หรืออื่น ๆ ทั้งนี้การเลือกรับประทานอาหารยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคได้

1 2 3